วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2021 เวลา 15:47 น.
เขียนโดย งานกฏหมายและคดี
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการของประชาชน
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เป็นกฎหมายที่มีขึ้นรองรับ “สิทธิได้รู้” (Right to Know) ของประชาชนหรือสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐ และกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อรองรับและคุ้มครองสิทธิของประชาชนไปพร้อมกัน โดยแนวคิดหลักของกฎหมายของข้อมูลข่าวสารของราชการ ดังนี้
1. ให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ของรัฐ โดยกำหนดข้อยกเว้นให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการมีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใสอันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย
2. รองรับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐได้แก่ สิทธิในการขอคำปรึกษา สิทธิในการตรวจดูข้อมูล สิทธิในการข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการ สิทธิในการขอสำเนาหรือสำเนาที่มีการรับรองสิทธิในการได้รู้ถึงข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการดำเนินการแทนผู้เยาว์ สิทธิในการร้องเรียน และสิทธิในการอุธรณ์
3. ข้อมูลข่าวสารของราชการเกือบทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ สามารถเปิดเผยได้ภายใต้หลักการที่ว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” โดยข้อยกเว้นจะมีได้ เฉพาะที่กฎหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น
สิทธิของประชาชน
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้กำหนดสิทธิของประชาชน ดังนี้
สิทธิของประชาชนในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการของหน่วยงานของรัฐ
1. สิทธิการเข้าตรวจดู สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ประชาชนสามารถทำได้ แม้ว่าจะไม่มีส่วนได้เสีย เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น โดยกฎหมายได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องเตรียมข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด ไว้ตามมาตรา 9 นำไปรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เช่น แผนงานโครงการและงบประมาณ สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน เป็นต้น
2. สิทธิในการขอสำเนาหรือการรับรองสำเนาถูกต้อง เมื่อประชาชนได้ใช้สิทธิเข้าตรวจดูแล้ว หากสนใจข้อมูลข่าวสารของราชการเรื่องใด ก็มีสิทธิที่จะขอสำเนา และขอให้รับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานของรัฐในเรื่องนั้นได้
สิทธิของประชาชนที่จะยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารเรื่องหนึ่งเรื่องใดตามที่ตนเองประสงค์จะรู้หรือเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้หรือพิทักษ์สิทธิของตนเองหรือชุมชน หรือสังคม
1. ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารได้ทุกเรื่อง สิทธิในการยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารนี้ ถือว่าเป็นไปตามมาตรา 11 ของกฎหมาย ที่ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทุกเรื่อง โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดหรือข้อห้ามว่าไม่ให้ยื่นคำขอข่าวสารประเภทใดเรื่องใด และผู้ใช้สิทธิ์ยื่นคำขอตามกฎหมายนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้ส่วนเสียเช่นเดียวกับสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร
2. ประชาชนได้ใช้สิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสาร โดยเขียนคำขอให้เข้าใจได้พอสมควรว่าขอข้อมูลข่าวสารเรื่องใด หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดให้ในเวลาอันสมควร กฎหมายได้บัญญัติรับรองสิทธิการขอข้อมูลข่าวสารของทางราชการไว้ว่า ถ้าประชาชนได้เขียนคำขอให้เข้าใจได้พอสมควรว่าข้อมูลข่าวสารเรื่องใด หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจะต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนที่ยื่นคำขอในเวลาอันควรด้วยเช่นกัน โดยในปีงบประมาณ 2548 คณะรัฐมนตรีได้มติให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติดังนี้
2.1 กรณีที่ประชาชนขอข้อมูลข่าวสารของรัฐ ซึ่งข้อมูลข่าวสารนั้นหน่วยงานของรัฐมีข้อมูลพร้อมที่จะจัดหาให้ได้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในวันที่ขอรับบริการ
2.2 กรณีที่ข้อมูลข่าวสารที่ขอมีจำนวนมาก หรือไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 วันทำการ จะต้องแจ้งผู้ขอข้อมูลทราบภายใน 15 วันทำการ รวมทั้งแจ้งกำหนดวันที่จะดำเนินการแล้วเสร็จให้ผู้ขอทราบด้วย
2.3 กรณีที่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอ จะต้องแจ้งคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลพร้อมเหตุผลให้ผู้ขอข้อมูลทราบภายใน 15 วันทำการนับจากวันที่ได้รับคำขอ
3. การใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารของประชาชน ต้องไม่บ่อยครั้งหรือจำนวนมากโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แม้ว่าสิทธิการยื่นขอข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งกฎหมายรองรับให้เป็นสิทธิของคนทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย แต่ถ้าประชาชนยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หน่วยงานของรัฐก็อาจให้เหตุผลนี้
CLICK ข่าวประชาสัมพันธ์